อุปกรณ์การวางท่อ
1. ท่อ PN 10 มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรอบนอกเท่ากับ 4 หุน และความหนาของท่อเท่ากับ 2.0 มิล
2. ท่อ HDPE มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรอบนอกเท่ากับ 4 หุน และความหนาของท่อเท่ากับ 3.3 มิล
3. ข้องอ, ข้อต่อตรง, สามทาง, ฝาปิด, ต่อตรงเกลียวนอก, เข็มขัดรัดท่อ, ตะปูเกลียว, พุก และหัวปล่อยสารเคมี (สปริงเคิล)
4. สว่านไฟฟ้าสำหรับเจาะท่อ และคาน
วิธีการทำบริการด้วยระบบการวางท่อ........
1. ใช้สว่านไฟฟ้าเจาะรูท่อ และทำเกลียวที่เจาะทุกรู ระยะห่างต่อจุดประมาณ 1 เมตร ใส่หัวปล่อยสารเคมีตามรูที่เจาะทุกรู
และปรับหัวปล่อยสารเคมีโดยให้รูที่ปล่อยสารเคมีอยู่ในทิศทางเดียวกันกับแนวท่อ PIPE
2. ผู้ปฏิบัติงานจะเริ่มดำเนินงานได้หลังจากที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายก่อสร้างได้ทำการเทคานคอดิน และถอดแบบออกเรียบร้อย
3. ผู้ปฏิบัติงานจะดำเนินการวางท่อ ตามแนวคานชั้นล่าง ท่อที่วางจะต้องขนานติดด้านในรอบตัวอาคาร โดยให้ลงลึกจาก
คานด้านบนประมาณ 15-30 เซนติเมตร ปรับระดับของหัวปล่อยน้ำยาให้คว่ำลง หรือประมาณ 45 องศา จากพื้นดิน
4. ใช้เข็มขัดรัดท่อ ทำการรัดท่อให้ติดกับแนวคานระยะห่างแต่ละจุดประมาณ 1-2 เมตร
5. กำหนดจุดที่จะติดตั้งหัวอัดสารเคมี โดยความยาวของท่อ PIPE จะเท่ากับ 20-25 เมตร ต่อ 1 หัวอัดสารเคมี
6.การติดตั้งหัวอัดสารเคมีจะห่างจากผนังของอาคารด้านนอกอย่างน้อยประมาณ10 เซนติเมตร
7. ตรวจสอบความเรียบร้อยของงาน และทดสอบประสิทธิภาพของระบบการวางท่อก่อนการเทพื้น เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง โดยใชเครื่องแรงดันสูง (ถ้ามี)
8. หลังจากการวางท่อ และทดสอบประสิทธิภาพแล้ว ทางห้างฯ จะดำเนินการอัดและพ่นสารเคมีชนิดน้ำลงดิน ให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกตารางเมตร
( soil treatment system) เพื่อการป้องกัน และกำจัดปลวกใตัดิน ที่มีประสิทธิภาพ ก่อนการเทพื้น คือ การป้องกันและกำจัดปลวกใต้ดินที่มีประสิทธิภาพ
ด้วยการอัดและพ่นสารเคมีชนิดน้ำลงดิน ครอบคลุมพื้นที่ทุกตารางเมตร |